คุยกับ
QOTAROO
กราฟฟิคดีไซน์เนอร์ชาวญี่ปุ่นใช้ชีวิตอยู่ทั้งกรุงเทพและ
โอซาก้า ผู้อยู่เบื้องหลังฟลายเออร์และอาร์ตเวิคแผ่นไวนิลของศิลปินเพลงแนวอิเล็กโทรนิคเชิงทดลอง

ภาพ โดย ศุภกร บัวยังตูม
QOTAROO หรือโคทาโร่ กราฟฟิคดีไซเนอร์ใช้ชีวิตอยู่ระหว่างกรุงเทพและโอซาก้า โคทาโร่เริ่มต้นจากการเป็นดีเจเปิดเพลงเฮาส์ตอนสมัยวัยรุ่น หลังจากรู้สึกประทับใจจากปาร์ตี้ในตำนานชื่อ “Flower of Life” (ที่ MACAO, อาคาร มิโซโนะ) ในโอซาก้าในปี 2002 เขาก็เริ่มจัดปาร์ตี้และทำฟลายเออร์ด้วยตัวเองในปี 2003 โดยเกิดขึ้นหลังจากโคทาโร่ได้ไปเข้าร่วมเทศกาล “Burning Man” ที่อเมริกา นอกจากนั้นยังเป็นผู้จัดการบุ๊คโชว์ที่ CLUB ZING (โอซาก้า) ด้วย โคทาโร่จัดปาร์ตี้มาอย่างโชกโชน นำเสนอ DJ และนักดนตรีที่มีความสามารถและเป็นที่จดจำทั้งในและต่างประเทศ โคทาโร่จัดปาร์ตี้ใหม่ชื่อ “POWWOW” ตอนปี 2008 ร่วมกับ DJ CMT, DJ DNT, YAMACHANG (ออกแบบแสง) และ KABAMIX (วิศวกรเสียง) ซึ่งจัดขึ้นหลายที่ในญี่ปุ่น
โคทาโร่ทำอาร์ตเวิคและออกแบบงานอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ฟลายเออร์ปาร์ตี้, CD, ปลอกแผ่นไวนิล, งานโฆษณา, เวปไซต์ รวมถึงแบรนด์เสื้อผ้าทั่วญี่ปุ่น อีกทั้งยังผลิตโปรแกรมสตรีมมิ่งดนตรีที่ออกอากาศเฉพาะช่วงเดือนมืด และพระจันทร์เต็มดวง ร่วมก่อตั้งแมกกาซีนด้านวัฒนธรรมชื่อ MAZIRU ที่กรุงเทพ, ทำกราฟฟิคดีไซน์ให้งานดนตรี รวมถึงเข้าร่วมกลุ่มโปรดัคชั่นสื่อผสมชื่อ COSMIC LAB ในโอซาก้าตอนปี 2016 ถึง 2018
โคทาโร่ได้ทำงานฟลายเออร์สำหรับปาร์ตี้, ศิลปิน และ DJ ที่เป็นที่จดจำอย่างเช่น Visible Cloaks กับศิลปินญี่ปุ่นโยชิโอะ โอจิมา และ ซัตซึกิ ชิบาโนะ (RVNG INTL), Idjut Boys, Laraaji, Gigi Masin, Paradise Bangkok, Maft Sai, DUBWAY, Giant Swing, Low-end Theory, DJ Harvey, Oneohtrix Point Never, Dublab (Japan) และอื่นๆอีกมากมาย

Laraaji - Osaka, Japan Tour (16/09/2018)
ตอนนี้โคทาโร่กำลังทำงานอะไรอยู่?
ตอนนี้เรากำลังโฟกัสไปที่การใช้ pen plotter machine เครื่องนี้เป็นเครื่องที่มีความน่าสนใจสำหรับเรามากตรงที่มันมีส่วนที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา อย่างในส่วนของความหนาของเส้นหรือการที่หมึกจะออกมาเป็นแบบไหน
ในงาน ArtGround 04 ที่ Jam Factory ซึ่งเราเข้าร่วมตอนเดือนกุมภาพันธ์ปี 2019 ที่ผ่านมา ได้จัดแสดงงานวาดที่เป็นแพทเทินจีโอเมทริคต่อเนื่องด้วยเครื่อง pen plotter เป็นครั้งแรก ตอนนั้นที่แสดงไม่ใช่แพทเทิร์นในรูปแบบที่เกิดซ้ำๆต่อเนื่อง แต่เป็นแพทเทิร์นที่เปลี่ยนไปตามช่องว่างของแกน
Pen plotter นั้นค่อนข้างน่าสนใจเพราะมันมีรูปแบบของปากกาซึ่งไม่สามารถสร้างได้จากอิงค์เจต หรือการพิมพ์แบบ offset
ก่อนหน้านี้ เราเคยทำอาร์ตเวิคที่เป็นแพทเทิร์นต่อเนื่องเปลี่ยนผันไปตามช่องว่างของแกนในปกอัลบั้มของศิลปินโอซาก้าชื่อ ENITOKWA แต่ตอนนั้นเราใช้ Adobe illustrator วาด ซึ่งค่อนข้างยากเลยทีเดียว

Enitokwa - 2069
หลังจากเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของการทำงานกราฟฟิคไปสู่โปรแกรมมิ่งทีมีพื้นฐานบน Java ที่เรียกว่า Processing และ แอพพลิเคชั่นวาดกราฟฟิคที่มีพื้นฐานบน node ชื่อ Patternodes ในปีนี้ ก็รู้สึกว่าง่ายขึ้นในการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงของ patterns ที่ซับซ้อน
ในอนาคต เราก็อยากพยายามสร้างงานจาก laser cutters และเครื่องตัดดู
โคทาโร่เริ่มจากการเล่น DJ แนว House อยากรู้ว่าแทรคไหนที่มีอิทธิพลต่อโคทาโร่ แล้วเริ่มเล่นดีเจตอนไหน?
เริ่มเล่น DJ ตอนอายุ 17 ได้แล้วก็หยุดเล่นไปตอนอายุราวๆ 30 เพื่อมาตั้งใจจัดงาน Powwow แล้วก็ทำกราฟฟิคให้กับ Powwow ด้วย
แทรคเพลงเหล่านี้มีอิทธิพลต่อเราในช่วงแรกๆ แทบจะเป็นเพลง House ใต้ดินจาก New York และ Chicago ทั้งหมดเลย อย่างเช่น
โคทาโร่ช่วยบอกหน่อยว่างานไหนที่ โคทาโร่เคยทำเป็น booking manager ที่ Club Zing แล้วรู้สึกชอบหรือน่าจดจำบ้าง?
มีหลายงานที่ ClubZing ที่น่าประทับใจนะ อย่างเช่น
Alexander Robotnik ตำนาน Italo disco ตอนนั้น Chee Shimizu เชิญเขามาแสดงที่ญี่ปุ่น เรารู้สึกประทับใจงานนี้มากที่ Club Zing การแสดงไต่ระดับไปถึงจุดพีคแล้วทันดันนั้นทุกอย่างก็หยุดลง ระบบแสงและเครื่องเสียงหยุดทำงานแต่ผู้ชมและ DJ ยังคงสนุก ผู้ชมยังคงเต้นและโห่ร้องอย่างสนุกสนานทั้งที่ไม่มีเสียงเพลงหรือแสงไฟ เราชอบมากเลย เดอะโชว์มัสโกออน
Thomas Fehlman สมาชิกเก่าของ The Orb รู้สึกประทับใจกับงานแสดงของเขาเพราะเห็นเขาแค่เสียบอุปกรณ์เข้าแลพทอปโดยตรงโดยไม่ต้องมี audio interface แต่เสียงที่ได้ออกมานั้นดีอย่างน่าอัศจรรย์ ตอนนั้นเราอายุ 25 ปีได้
Prins Thomas ตำนานแนวเพลงสาย Disco Dub มาเล่น DJ ที่โตเกียวและญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก แล้วก็ได้มาเล่นที่โอซาก้า เขามาเล่นช่วงวันธรรมดาในโอซาก้าและสาวกสาย Disco Dub ก็มารวมตัวกันเพื่อสนุกไปกับดนตรีแนว Disco Dub จากเขา คนมาเยอะมากแม้จะเป็นวันธรรมดา เพื่อนเราก็เล่น VJ ด้วย ปาร์ตี้วันนั้นสนุกมาก

ภาพ โดย ศุภกร บัวยังตูม
ปาร์ตี้ POWWOW ครั้งไหนที่น่าสนใจที่สุดเมื่อตอนที่ยังทำ POWWOW อยู่?
เราจัด POWWOW ทุกเดือน ประมาณ 1 ถึง 2 ครั้งต่อเดือน POWWOW จัดขึ้นทั้งโอซาก้า, อิวาเตะ, นาโกย่า, ฟุกุโอกะ, ฟุกุอิ และในโตเกียวด้วย
ถ้าจะให้เลือกเราเลือกครั้งแรก ตอนนั้นเรามี DJ รับเชิญอย่าง DJ Nobu ซึ่งตอนนั้นก็ดังในญี่ปุ่นแล้วแต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักระดับนานาชาติเท่าไหร่
ทุกคนที่ทำงานด้วยก็เป็นเพื่อนกันหมด ทั้งนักออกแบบแสง วิศวกรเสียง ดีเจ แล้วเหมือนว่าทุกคนรวมร่างกลายเป็นคนคนเดียว ซึ่งแต่ละคนเป็นเหมือนอวัยวะที่แตกต่างกัน ในจิตใจและร่างกายเดียวกัน ตอนที่ทำงานร่วมกัน

WOLS feat. POWWOW ที่ ALZAR (23/03/2019)
โคทาโร่เคยบอกว่า “ผมเห็นเสียง และได้ยินแสง” ทำให้นึกถึงคนที่มีโรคที่เรียกว่า “ซินเนสทีเซีย” โคทาโร่รู้จักโรคนี้ไหม?
เรารู้ว่ามีโรคนี้อยู่นะ แล้วก็รู้สึกสนใจมากด้วย ไม่แน่ใจว่ามันเกี่ยวเนื่องกันไหม แต่เราสนใจศิลปินที่มีการถ่ายทอดออกมาทั้งภาพและเสียงเป็นพิเศษ เราชอบการถ่ายทอดทางภาพและเสียงของ EYE วง Boredoms มาก แล้วก็คุณ คิโยชิ อิสึมิ ศิลปินที่ทำงานอยู่ในโอซาก้า รู้สึกยกย่องสิ่งที่เขาสร้างขึ้นซึ่งถ่ายทอดข้ามโยงไปมาทั้งการได้ยิน การมองเห็นและรสชาติของมัน
เราไม่ได้ได้ยินเสียงแล้วเห็นเป็นสี (แบบคนเป็น ซินเนสทีเซีย) แต่เวลาทำงานกับเสียงดนตรี เราจะมองเข้าไปในพื้นผิวรายละเอียดของเสียง โทน และรูปที่สามารถเห็นได้จากเสียงและช่องว่างระหว่างเสียง ซึ่งเราสร้างขึ้นจากความรู้สึก โดยเฉพาะถ้าคุณมาจากคนที่เล่นหรือทำเพลงเต้นรำ เรารู้สึกว่าพื้นผิวและรายละเอียดของเบสมีผลกระทบที่น่าสนใจกับการถ่ายทอดออกมาของภาพ

Photo by Suphakorn Buayangtoom
แล้วโคทาโร่ไปเริ่มรู้จักกับกลุ่ม Giant Swing ในกรุงเทพได้ยังไง
เราเริ่มมาอยู่กรุงเทพครั้งแรกตอนปี 2010 มากับรุ่นพี่ซึ่งเป็นผู้จัดการทัวร์แสดงสดของวง “Based on Kyoto” แล้วก็ได้รู้จักกับฮิโรโอะและมาสะ ซึ่งเล่นดีเจให้กับปาร์ตี้ Giant Swing ตอนนั้นเราอยู่ทั้งในไทยและญี่ปุ่น เราได้รับการติดต่อจาก Giant Swing ให้ทำโลโก้ให้ด้วย หลังจากนั้นเราก็ได้ไปทำ VJ ให้ด้วย มีปาร์ตี้จัดขึ้นในการแสดงงานศิลปะของเราครั้งแรกในกรุงเทพด้วยที่ GOJA

Giant Swing Logo
ติดตาม Qotaroo
https://www.instagram.com/qotaroo/
งานวิช่วลหรืองานออกแบบที่ชื่นชอบ
ยากที่จะบอกถึงศิลปินที่ชื่นชอบ
เอาเป็นว่าเป็น กราฟฟิคดีไซเนอร์หรือศิลปินที่มีอิทธิพลและสร้างความประหลาดใจให้กับเราในช่วงแรกๆที่เริ่มทำงานฟราฟฟิคดีไซน์แล้วกัน
NAOHIRO UKAWA ( Dommune )
http://www.redbullmusicacademy.jp/jp/magazine/ukawa-naohiro-interview
EYE ( Boredomes )
https://en.wikipedia.org/wiki/Yamantaka_Eye
IPPI
http://www.ippi.jp/information.htm
http://www.hellogasshop.com/products/list.php?category_id=304
Abdul Mati Klarwein
Hipgnosis
https://en.wikipedia.org/wiki/Hipgnosis
----------
อัลบั้มเพลงที่ชอบ
ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาไม่ค่อยได้ฟังเพลงเป็นเพลงๆไปเท่าไหร่แต่จะฟังเป็นอัลบั้ม ปรกติจะฟังเทคโน แอมเบียนท์ และโดรนเวลาทำงาน
อันนี้เป็นลิสต์อัลบั้มที่ชอบฟังตอนทำงาน
DOLPHINS INTO THE FUTURE - ....on Sea Faring Isolation
(เราฟังอัลบั้มนี้มา 8 ปีแล้วตั้งแต่อัลบั้มนี้ปล่อยตอนปี 2011 ฟังนับครั้งไม่ถ้วนเลย...)
----------
ภาพยนตร์ที่ชอบ
เราไม่ได้สนใจภาพยนตร์เท่าไหร่และไม่ได้ดูหนังมากนัก ถ้าเจอหนังที่ชอบ เก็จะดูมันซ้ำไปซ้ำมา
Stanley Kubrick - 2001: A Space Odyssey
Stanley Kubrick - The Shining
(ผมชอบหนังที่กำกับโดย Stanley Kubrick)
Carlos Saura - Flamenco, Flamenco
(ภาพยนตร์เรื่อง Flamenco, Flamenco เป็นภาพยนตร์ที่กำกับได้อย่างงดงามทำให้ผมได้เรียนรู้เกี่ยกวับความน่าเกลียดของ Flamenco)
What Happened, Miss Simone?
----------
หนังสือที่ชอบ
Crystal World โดย J. G. Ballard
Goodbye to Future : A New Hope โดย 若林 恵 Kei Wakabayashi
Don't Sleep, There Are Snakes โดย Daniel L. Everett
https://www.npr.org/templates/story/story.php?storyId=121515579
http://content.time.com/time/arts/article/0%2C8599%2C1859528%2C00.html
------------------------
เครดิตเพิ่มเติม
ล่ามภาษาญี่ปุ่น โดย ศรัณย์ ยกล่อง
สถานที่ถ่ายทำ: The Lantern, กรุงเทพ